แหล่งโบราณคดี (คนแปดศอก) ก่อนประวัติศาสตร์ ๒,๓๐๐ – ๑,๘๐๐ ปี บ้านสวายน้อย ตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ๒,๓๐๐ – ๑,๘๐๐ ปี ตั้งอยู่บ้านสวายน้อย ตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากอำเภอน้ำยืน 17 กิโลเมตร ห่างจากวัดสวายน้อยไปทางทิศเหนือประมาณ 80 เมตร ตั้งอยู่ตอนกลางของหมู่บ้าน
พบเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2542 ห่างจากวัดสวายน้อยไปทางทิศเหนือประมาณ 30 เมตร ตั้งอยู่ตอนกลางของหมู่บ้าน ลักษณะดินเป็นที่ราบขั้นบันได สูงจากเส้นระดับน้ำทะเลปานกลาง 162 เมตร เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำเก่า บริเวณนี้จัดเป็นดินในชุดโคราช (ร่วนปนทราย สีน้ำตาลปนเทา) และบริเวณนี้มีศิลาแลง (Laterite) จากการสำรวจได้พบโครงกระดูกมนุษย์มีชิ้นส่วนกระดูกแขน ขา ฟันกรามล่าง แต่กระดูกทั้งหมดอยู่ไม่ครบอาจเป็นการฝังศพครั้งที่ 2 พบเศษภาชนะดินเผา เป็นภาชนะดินเผาเนื้อดินละเอียด ค่อนข้างบาง ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน มีทั้งตกแต่งลวดลายและแบบผิวเรียบ พบขวานหินขัด 3 ชิ้น ประมาณว่าน่าจะอยู่ระยะก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายราว 2,300 – 1,800 ปีมาแล้ว(กณวรรธน์ สุทธัง, ๒๕๕๐,๒๒)
จากการค้นพบเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2542 โดยนายประสิทธิ์ โสภาราษฎรบ้านสวายน้อย ตำบลยางใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และโบราณวัตถุจำนวนหนึ่ง ทางโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 8 จึงได้ออกสำรวจพื้นที่ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นแหล่งฝังศพ โดยอาจจะเป็นการฝังครั้งที่ 2 เนื่องจากกระดูกในร่างกายเหลืออยู่ไม่ครบทุกส่วน
ชุมชนเก่าแก่บนถนนวิศิษฐ์ศรีนั้นยังมีบ้านไม้เก่า ๆ ให้พบเห็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้แสดงถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ของผู้คนริมฝั่งโขงในจังหวัดอุบลราชธานี ด้วยจุดเด่นนี้จึงได้กำหนดให้บริเวณนี้เป็นตลาดถนนคนเดิน เขมราษฎร์ธานี ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2556 ด้วยกลุ่มฮักนะเขมราฐและผู้บริหารเทศบาลตำบลเขมราฐ โดยนางลัดดา เจษฎาพานิชย์ นายกเทศมนตรีตำบลเขมราฐ มีแนวความคิดที่จะพัฒนาบ้านเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจ ที่เคยคึกคักในอดีต ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในบรรยากาศย้อนยุค ให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสบรรยากาศที่อบอุ่นตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่
https://tambonyangyai.go.th/info-service/travel/item/875-travel-1#sigProGalleriae99313a074
แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ บ้านสวายน้อย จึงถือเป็นแหล่งแหล่งโบราณคดี ที่น่าสนใจมากแหล่งหนึ่ง และเป็นไปได้หรือไม่ว่าหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจะเป็นของกลุ่มเร่ร่อน เคลื่อนย้ายที่อยู่เสมอๆ และมีความสัมพันธ์กับชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้โดยผ่านทางลำโดมใหญ่นั้นมา ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงข้อคิดเห็นเบื้องต้นเท่านั้น หากพบหลักฐานใหม่ๆ หรือได้หลักฐานเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีที่พบเครื่องมือหิน และเศษภาชนะดินเผา ลักษณะใกล้เคียงกับหลักฐานที่นี่ในเขตประเทศกัมพูชา ก็อาจจะเป็นข้อมูลใหม่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีอย่างมาก (สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี.2542,1-4.)
แสดงความคิดเห็น
***กรุณาแสดงความคิดเห็น ด้วยความสุภาพ เคารพต่อสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดต่อกฎหมาย และศีลธรรมอันดีของสังคม